logo

ประวัติโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์

อัตลักษณ์ของนักเรียน

ซื่อตรง  เรียบง่าย  การงาน
รักเมตตา  กตัญญูรู้คุณ

2016-03-14T15:19:08+00:00
ซื่อตรง  เรียบง่าย  การงาน รักเมตตา  กตัญญูรู้คุณ

ประวัติโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์

HISTORY OF ASSUMPTION CONVENT SCHOOL

โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ เป็นโรงเรียนแรกที่ คณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร ก่อตั้งขึ้นในประเทศไทยคณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร เป็นนักพรตหญิง แพร่ธรรมในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ได้ถือกำเนิดที่ตำบลเลอเวส์วิลล์ ลา เชอนารด์ เมืองชาร์ตร (Chartres)ในประเทศฝรั่งเศส เมื่อ ค.ศ.1696 (พ.ศ.2239 ตรงกับรัชกาลของสมเด็จพระเพทราชาแห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง กรุงศรีอยุธยา) โดย บาทหลวงหลุยส์ โชเวต์ เจ้าอาวาสวัดนักบุญมาร์ติน และ เดอมัวเซลมารีอานน์ เดอ ตียี คณะได้ดำเนินงานตามพระพรพิเศษ คือ การศึกษา การรักษาพยาบาล และงานเมตตาสงเคราะห์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในดินแดนทุรกันดารและห่างไกล หากเปรียบเทียบคณะภคินีว่าเป็นเมล็ดพืชเล็ก ๆ ที่งอกเงยเจริญเติบโตและหยั่งรากลึกบนผืนแผ่นดินมากกว่า 300 ปี การดำเนินงานของคณะภคินีในประเทศไทยเปรียบเสมือนเมล็ดพืชที่ปลิวมาจากแดนไกล แล้วตกลงบนพื้นดินอันอุดมสมบูรณ์ของกรุงรัตนโกสินทร์ โดยพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า

ในปี ค.ศ. 1902 ข่าวที่มาจากประเทศฝรั่งเศสน่ากังวลมาก เนื่องจากรัฐบาลฝรั่งเศสในขณะนั้น ได้ออกกฎหมายให้โอนทรัพย์สินของคณะนักบวชทั้งหลาย ให้ตกเป็นของฆราวาส และมีผลบังคับครอบคลุมไปถึงอาณานิคมทุกแห่งของประเทศฝรั่งเศส แมร์กังดีด1 รู้สึกถึงความทุกข์ร้อนใจที่กำลังเข้ามา ด้วยว่ากฎหมายดังกล่าว ได้รวมถึงอินโดจีนของฝรั่งเศส ซึ่งเป็นศูนย์กลางที่สำคัญของคณะฯในภูมิภาคนี้ไว้ด้วย  ท่านจึงคำนึงถึงคณะเซอร์จำนวนมากและกิจการต่างๆของคณะฯ ดังนั้นในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1904 ท่านได้เขียนจดหมายถึง ฯพณฯ พระสังฆราช ชอง หลุยส์ เวย์2 พระสังฆราชประจำราชอาณาจักรสยามในเวลานั้นว่า

“หากว่าพระคุณเจ้าต้องการพวกเซอร์สำหรับมิสซังของพระคุณเจ้า ดิฉันรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่จะดำเนินการตามนั้น…”3 พระคุณเจ้าได้เสนอว่า”นี่คือสิ่งที่เราจะสามารถทำได้ คือ เปิดสถานฝึกสอนเย็บปักถักร้อยซึ่งเด็กสาว ๆ จะมาได้ทุกวันเพื่อเรียนการฝีมือ ประดิษฐ์เสื้อผ้าที่เย็บปักอย่างละเอียดงดงาม หรือมิฉะนั้นก็เรียนพูดภาษาอังกฤษ เยอรมัน โปรตุเกส ฝรั่งเศส สถานฝึกซึ่งจะเปิดขึ้นนี้ จะสร้างอยู่ใกล้กับวัดอัสสัมชัญ ตรงข้ามสำนักพระสังฆราช…” คณะฯ จึงเริ่มเปิดโรงเรียนแห่งแรกขึ้น ในปี ค.ศ.1905 คือ โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์

โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 25 ถนนเจริญกรุง 40 เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร บนเนื้อที่ 3 ไร่ 2 งาน จากรายงานของแมร์แซงต์ซาเวียร์4 บันทึกว่า “ 7 มีนาคม ค.ศ.1905 คณะเซอร์เซนต์ปอลฯ ซึ่งได้รับมอบหมายให้มาดูแลจัดการโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ ได้มาตั้งถิ่นฐานอยู่ในวันดังกล่าว”5

ดังนั้นวันที่ 7 มีนาคม ค.ศ.1905 จึงถือเป็นวันก่อตั้งโรงเรียนและเริ่มต้นเปิดทำการสอน โดยมี
แมร์แซงต์ซาเวียร์ เป็นอธิการิณีท่านแรก มีนักเรียนรุ่นแรก 37 คน ครูฆราวาส 2 – 3 คน อธิการิณีและคณะเซอร์ รวมทั้งหมด 8 คน ทำงานเพื่อการศึกษาอบรมแก่เด็กหญิงเพื่อจะได้เป็นพลเมืองดีของชาติ และเป็นผู้มีคุณธรรม โดยมีพระสังฆราชชอง หลุยส์ เวย์ ดำรงตำแหน่งพระสังฆราช และมีคุณพ่อ เอมิล กอลอมเบต์6 เป็นเจ้าอาวาสอาสนวิหารอัสสัมชัญในขณะนั้น

ในวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ.19057 (พ.ศ.2448) พระสังฆราชชอง หลุยส์ เวย์ เป็นผู้เสกอาคารเรียน
หลังแรก จำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นทุกปี ต่อมาโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ ได้พัฒนาปรับปรุงและก่อสร้างอาคารเรียนเพิ่มเติมจาก 2 ชั้น เป็น 4 ชั้น และจาก 4 ชั้น เป็น 6 ชั้น ปัจจุบันมีอาคารเรียน 2 หลัง วิชาที่เปิดทำการสอนในสมัยแรก ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศสและดนตรี นอกจากทางโรงเรียนจะให้ความรู้ด้านวิชาการแล้ว คณะเซอร์ยังให้การอบรมด้านจริยธรรมแก่นักเรียนด้วย

ปีค.ศ.1995 (พ.ศ.2538) โอกาส 90 ปี โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ได้ขยายโรงเรียนไปที่ถนนประมวญ กรุงเทพฯ โดยแยกระดับชั้นประถมศึกษาออกไป เป็นโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ สีลม
เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ปีค.ศ.2005 (พ.ศ.2548)  โรงเรียนมีอายุครบ100 ปี  จึงมีการจัดงานศตพรรษพัชรสมโภชขึ้น โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี  เสด็จเป็นองค์ประธานงาน  เมื่อวันที่  2  มีนาคม  พ.ศ. 2549

โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ จัดการศึกษาตามนโยบายการศึกษาในเครือคณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร ที่เป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคือ การให้ผู้เรียนรู้จักและเข้าถึงสัจธรรมอันสูงส่งแห่งความเป็นมนุษย์ด้วยการดำเนินชีวิตอย่างมีระเบียบวินัย สุภาพเรียบง่าย และเปี่ยมด้วยเมตตาธรรม รู้จักรับผิดชอบต่อหน้าที่การงานอย่างเต็มความสามารถ และเรียนรู้ที่จะรักษาสุขภาพที่ดี ทั้งกายและใจ นอกเหนือจากจุดประสงค์สำคัญดังกล่าว โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ ยังมีปรัชญาการศึกษาที่ชัดเจนว่า “มนุษย์ที่มีคุณภาพ คือ มนุษย์ที่มีคุณธรรมและความรู้” รวมทั้งจิตใจงามและความรู้ดี โดยมุ่งหวังให้ธิดาอัสสัมชัญคอนแวนต์ทุกคน ออกไปอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณภาพตามเจตนารมณ์ ที่คณะกรรมการบริหารโรงเรียน ได้ยึดเป็นแนวทางปฏิบัติในการบริหารโรงเรียนอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า 100 ปี

1 แมร์กังดีด กูแซ็ง อธิการิณีเจ้าคณะภาคตะวันออกไกล ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ ค.ศ.1887-1921 จาก www.Spcthai.com
2 พระสังฆราช-ชอง หลุยส์ เวย์ พระสังฆราชประจำราชอาณาจักรสยาม ค.ศ.1875-1909
3 จากบันทึกของ แมร์แซงต์ซาเวียร์ อธิการิณีคนแรก (ค.ศ.1905 – 1907)
4  บันทึกของเซอร์แซงต์ เซเวียร์
5  จากจดหมายเหตุรายวันของคุณพ่อกอลอมเบต์
6  เอมิล กอลอมเบต์  บาทหลวงชาวฝรั่งเศสและเจ้าอาวาสวัดคาทอลิกเล็ก ๆ ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา แถบบางรัก ชื่อว่า “วัดสวนท่าน” จากบันทึกของคุณพ่อกอลอมเบต์
7  จากสมุดหมายเหตุประจำวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ.1905 ของคุณพ่อกอลอมเบต์

Çanakkale masaj salonu Tekirdağ masaj salonu Antalya masaj salonu Ankara masaj salonu Samsun masaj salonu Bursa masaj salonu Konya masaj salonu Balıkesir masaj salonu İzmir masaj salonu İstanbul masaj salonu İstanbul masaj salonu İzmir masaj salonu Ankara masaj salonu Antalya masaj salonu Balıkesir masaj salonu Gaziantep masaj salonu Sivas masaj salonu Aydın masaj salonu Muğla masaj salonu Afyon masaj salonu Tokat masaj salonu Kütahya masaj salonu